Posts

Showing posts from October, 2014

Picture (Dic)

picture ภาพโปสเตอร์พระพุทธเจ้าเรียก  ဘုရားရုပ်ပုံ คำนี้ไกล้เคียงที่สุดที่ค้นหาในเน็ต picture [piktSc] (n) 1. a painting or drawing:       ပန္းခ်ီကား။ ႐ုပ္ပံု။     This is a picture of my mother.   ဒါဟာကၽြန္ေတာ့္ အေမပံုပဲ။ 2. a photograph: ဓာတ္ပံု။     I took a lot of pictures when I was on     holiday. အားလပ္ရက္တုန္းက    ကၽြန္ေတာ္အေတာ္မ်ားမ်ား    ဓာတ္ပံု႐ိုက္ခဲ့တယ္။ 3. a cinema film: ႐ုပ္ရွင္။     Theres a good picture on at the     cinema to night. ဒီည    ႐ုပ္ရွင္႐ံုမွာ ကားေကာင္းတယ္။ 4. (with the) a symbol or prefect example     (of something): ပံုစံ။ ပံု။     She looked the picture of health/happiness.   သူသည္အျပည့္အ၀ က်န္းမာပံုု/    ေပ်ာ္ရႊင္ပံုေပၚေနသည္။ 5. (with a) a beautiful sight: လက္ရာေျမာက္    ပန္းခ်ီကားပမာ ပနံရေနျခင္း။     She looked a picture in her new dress.   သူသည္အ၀တ္အစား    သစ္ႏွင့္ ပနံရေနသည္။ 6. a clear description:    ရွင္းလင္းေသာ ေဖာ္ျပခ်က္။     He gave me a good picture of what was     happening. ျဖစ္ခဲ့သမွၽႏွင့္   ပတ္သက္၍ သူသည္ ကၽြ

เปรต ทุ สะ นะ โส ภาพพม่าครับ

Image
เปรต ผู้กล่าวคำว่า "ทุ สะ นะ โส" ดูคำในภาษาพม่าครับ ตัวอย่างของการละเมิดศีลข้อ กาเม ขอโอกาสเล่า เนื่องจากเคยเป็นเด็กวัดมาก่อน "เรื่องปรากฏใน อรรถกถา เปตวัตถุ มหาวรรคที่ 5 บุตรเศรษฐี ผู้ตายไปเป็นเปรต" ขอสรุปความเป็นภาษาชาวบ้าน พระราชาปเสนทิโกศล ผู้ครองเมืองโกศล ได้เห็นเมียชาวบ้าน ก็เกิดจิตพิศวาส หาทางกลั่นแกล้งสามีของเขาให้ได้อาญา เพื่อเอาตัวภรรยานางนั้นมาเป็นของตน ... ตกดึกคืนหนึ่งได้ยินเสียงร้องหวีดหวิวของเปรต สี่คำ คือคำว่า "ทุ สะ นะ โส" ในเวลาไล่เลี่ยกัน พระราชาปเสนทิโกศล เกิดขนพองสยอมเกล้า และกลัวมาก ตอนแรกพระราชาสั่งให้จับสัตว์และคนมาบูาชายัญญ์ ตามคำแนะนำของ ปุโรหิต ภายหลังจึงได้เข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าตามคำขอของพระนางมัลลิกาเทวี ผู้เป็นพระมเหสี เมื่อนั้น พระศาสดาจึงได้ขยายความว่า "เปรตสี่ตน ตกอยู่ในนรก เมื่อครบเวลาก็โผล่พ้นขอบปากนรกมาหน่อยหนึ่ง แล้วอยากจะเปล่งคำแสดงความทุกข์ของตน ก็กล่าวได้แต่เพียงคำต้น แล้วเท่านั้น ก็ผุดดิ่งลงก้นนรกเช่นเดิม" คำ ทุ สะ นะ โส จึงเป็นคำ ต้น ของคำที่เหลือ ที่เปรตสี่ตนนั้นประสงค์นะพูด บอกความทุกข์ทรมานของตน เท่านั้น

ีดีเน๊ะ บ่าเน๊ะแล่ วันนี้วันอะไร

Image
วันนี้ วันอะไร ? ถามกันอย่างเต็ม ๆ ประโยคมีกริิยา ก็ถามว่า "ดีเน๊ะ บาเน๊ะ พยิ๊ดบ่าแล่ " แต่ในการพูดทั่วไป มักตัด พยิ๊ด (เป็น) ออก ข้าพเจ้าจึงอิงมาทางแบบสั้น ๆ เป็นที่นิยมมากกว่า กำหนดให้ N และ Y เป็นตัวแปร มีค่า เป็น วันนี้ และ วันจันทร์ เ ป็นต้น ข้าพเจ้าเข้าใจแบบนี้ ง่ายดี เหมือนเขียนคำสั่งคอมพิวเตอร์ เขียนแต่โครงสร้าง ส่วน "ค่า value" ใส่ให้กับ ตัวแปร วนลูปไป เพียงแต่ "กำหนด ค่าของ value " ที่จะใส่ให้ถูกต้องเท่านั้น .. แบบนี้ก็น่าจะเข้าใจง่าย จริงหรือเปล่า .. ก็ม่ายรู้เนาะ บันทึกไว้ที่ facebook/burmese

ความนิยมเขียนวนที่ ေန့ရက္ , ရက္ေန့

Image
နေ့  =  วัน ရက် = (วัน) ที่ วันที่จึงประกอบด้วยคำพม่าสองคำคือ နေ့ + ရက် ในอินเทอร์เน็ตจะพบเห็นการเขียนวันที่ด้วย နေ့ရက် , ရက်နေ့ มีข้อสังเกตุ ดังนี้ (  เขียนวันที่ แบบเต็มประโยค วัน เดือน ปี ไว้หลังคำ ရက် เช่นนี้จะเรียงวันที่ทีหลัง ရက် ) နေ့ရက်    ၃၀ . ၁၀ . ၂၀၀၄     နေ့ရက် … . ၁ ၂ . ၅ . ၂၀၀၃ အချိန် … . နံညက် ၁၀ နာရီ နေရာ … . တော်ဝင်နှင်းဆီ ငြိမ်းချမ်းခန်းမ            ရွှေဂုံ (เขียนวันที่ แบบเต็มประโยคบ้าง แบบวันที่อย่างเดียวบ้าง ไว้หน้า ရက် เช่นนี้จะเรียงวันที่ไว้ก่อน ) ရက်နေ့ ၁ . မိုးလေဝသသတင်း ( ၂၇ - ၅ - ၂၀၀၄ )  ရက်နေ့ ၂ . စက်တင်ဘာ ၂၀ ရက်နေ့ မှာ ကျရောက် တဲ့ နိုင်ငံတကာ ငြိမ်းချမ်းရေးနေ့ အကြို အဖြစ် အမျိုးသမီး … . จุดสังเกตุของผมคือ เรียงวันที่ไว้ไกล้กับ ရက် ไม่ว่าจะหน้าหรือหลังก็ตาม

ชื่อตัวพยัญชนะ และตัวอย่างประโยค ที่ใช้ในบทเรียนที่ 1

Image
มิงกะลาบ่า  .. สวัสดีครับ ผมขอขอบพระคุณทุกท่านที่สนใจ "เอกสารฝึกเขียนพยัญชนะพม่า"  ชุดที่แจกฟรีนี้ จะมี ลายน้ำ ซึ่งอาจจะสร้างความรำคาญให้กับท่านบ้าง ก็โปรดขออภัย ชุดนี้ผมทำขึ้นเพื่อสอนตัวเอง เมื่อแรกเรียนภาษาพม่าครับ ครั้งนั้น ผมตัดตัวอักษร พม่าจากแหล่งต่าง ๆ ลงบนกระดาษ ถ่ายเอกสาร แล้วเขียนตาม แรงบันดาลใจจากความลำบากครั้งนั้น ทำให้เกิดชุดนี้ได้ โดยตัวอักษรนั้น ผมนำมาจาก หนังสือ ฝึกเขียนของพม่าโดยตรง ประโยคตัวอย่าง 33 ประโยคนั้น ผมกับสยาเอ้ามิต และ สยาเอ้มิน  (ครูสอนพม่า อีกสองท่าน) ได้ผลิตขึ้นใหม่ เพื่อให้มีชื่อ พยัญชนะ เป็นอักษร นำ หรือเป็นอักษรตัวอย่างเห็นในประโยค เพื่อย้ำให้เห็นรูปพยัญชนะ ซึ่งได้รับความกรุณาจากสยาเอ้ามิต ให้เสียงอ่านเป็นภาษาพม่า ครบทุกตัวและครบทุกประโยคเลยทีเดียว ซึ่งเสียงประกอบนั้น ท่านจะได้รับเฉพาะในชุดชีต เท่านั้น ขอเชิญท่านดาวน์โหลด "เอกสารฝึกเขียนพยัญชนะพม่า" 33 ตัว จากลิงค์ข้างล่าง ซึ่งเป็นเซิร์ฟเวอร์ของ MyanmarSA เอง แนะนำให้พิมพ์ด้วย laser สี หรือ อิงค์เจ็ตสี ครับ จะได้ภาพตัวอักษรคมชัดสวยงาม File Name : Lesson1_License_Free.PD

ศัพท์พม่าจาก สยาจี้

สยาจี้ สมเกียรติ ท่านไม่สอนภาษาพม่าในห้องเรียนอย่างเดียวครับ ท่านยังตามสอนในเฟจบุคของท่าน โดยอัดเป็นวีดิโอ บอกชื่อสถานที่ต่าง ๆ ที่ท่านกำลังอยู่ขณะนั้น ทำให้ได้ทั้งภาษา ความรู้ และความเพลิดเพลินด้วย ตัวอย่างวันนี้ ผมยกเอาคำที่สยาจี้สอนในวิดิโอ มาบันทึก พอสังเขป 1. အလွဴခံပံုး อะทลูคันโป้ง - ตู้รับบริจาค อคุชเวดะโกงพะย่าฮม่าลูซีก ้าแด่ ภาษาไทย - ตอนนี้ ที่ชเวตะโกง คนคึกคัด 2. ลูซีกา คนคึกคัด แด่ เล่าให้ฟัง 3. ဘုရားရွီခိုးျပီးျပီလား။ พะย่าฉีโค้ปี้บีล่า?  4. พยาฉีโค = ไหว้พระ จะหน่อ พยา ชิโค ปี่ปี่ = ผมไว้พระแล้ว 5. အားလံုး၀ိုင္းေျဖ ေပးၾကပါေနာ္။ อาโลงไวเผ เบจะบ่า เน๊าะ .... ช่วยกันตอบ ด้วยนะครับ 6. ဒီေန႔ကၽြန္ေတာ္ဘုရားကိုပန္းကပ္ျပီးေတာ့ေရသပ္ပါယ္တယ္။ ดีเนะจะหน่อพะย่าโกปั้นกัดปี้เดาะเยตัดแปแด่  ปั้นกั๊ดแด่   = ถวายดอกไม้  ( กํด ถวาย ใช้กับพระ) เยตั๊ดแป = สรงน้ำพระ วันนี้ ผมถวายดอกไม้ แล้วก็ สรงน้ำพระ 7. ဦးေထာင္ ဗိုလ္ အ၀ိုင္း อู้เทาโบอะว้าย - วงเวียน อูเท่าโบ 8. ကထိန္ျဖစ္ေပၚလာပံုႏွင့္ကထိန္ခင္းရျခင္းအေရးပါပံုမ်ား กะเท้งพยิดเปา ลาโป่ง หนิ๊ด กเท้งขิ่น ยะ ฉีน อะเย บาโป้ง

ไหว้พระในพม่า ต้องให้ถูกองค์กับสิ่งที่อยากได้

Image
ถ้าไหว้และขอสิ่งที่ท่านไม่ชำนาญ จะสร้างความลำบากให้กับพระ และท่านผู้ขอ ก็อาจจะไม่ได้ตามประสงค์ ชาวพม่าเชื่อว่า พระพุทธรูป และพระเจดีย์แต่ละองค์จะมีความศักดิ์สิทธิ์ต่าง ๆ นานา และต่างกัน เช่น เชื่อว่าหากเดินทางไกลไปไว้พระเจดีย์ไจ้ก์ทีโยหรือ พระธาตุอินแขวนที่รัฐมอญครบ สามครั้ง จะช่วยให้มั่งมีศรีสุข  หากไปไหว้พระมารอ่องมุนีที่เมืองซลูน จะไม่ต้องพลัดพรากจากถิ่นกำเนิด หรือไม่ต้องห่างจากครอบครัว หากของหายหรือเงินหายก็จะได้คืนโดยง่าย  ซึ่งตามประวัติของพระมารอ่องมุนี เป็นพระพุทธรูปที่อังกฤษเคยนำไปไว้ที่อินเดีย และจำต้องส่งกลับคืนมาที่พม่าในภายหลัง ประวัติมีกล่าวถึงอิทธิฤทธิ๋ปาฏิหาริย์ ที่ออกจะพิศดาร แต่ชาวพม่าที่จะเดินทางไปเป็นลูกเรือในต่างประเทศ จะไม่กล้าไปไหว้พระองค์นี้ เพราะกลัวถูกส่งตัวกลับบ้านเร็ว ถ้าอยากได้ก้าวหน้าในตำแหน่งการงานหรือธุรกิจการค้ารุ่งเรือง ก็ต้องไปไหว้พระชเวโ่บงป้วงที่ย่างกุ้ง หากไปไหว้พระชเวมแยหมั่ง (พระสวมแว่น) ที่เมืองแปร ความคิดอ่านจะดีและท่องจำเก่ง หากอยามีบ้านมีรถ ให้ไปขอพรจากโพโพจี (พ่อปู่) ที่วัดโบตะถ่องในย่างกุ้ง หากไปไหว้พระที่วัดสัมพุทเธ ที่เมืองโมงหยั่ว จะ

พระพุทธเจ้าในอีกชื่อหนึ่ง พยาตะขิ่น ก็เรียก

Image
พะยาตะขิ่ง ... พระเจ้า (ในศาสนา เทวนิยม) และอาจเรียก พระพุทธเจ้าในชื่อ พะยาตะขิ่ง ได้ในอีกชื่อหนึ่งด้วย ในความหมายของศาสนา เทวนิยม คำว่า ဘုရား มาจากสันสกฤษว่า วร ในคำไทยใช้เป็น "พระ" ဘုရား แท้จริงก็ควรออกเสียงว่า พระ แต่คนพม่า ออดเสียง ร เร ือเป็น ย ยักษ์ เสียงที่ได้ยินจึงเป็น "พยา" ဘုရား ใช้ในความหมายแทน พระพุทธเจ้า และ เรียกพระพุทธเจ้าผู้ตรัสรู้อริยสัจจ์ว่า มยัตสว่าพยา ျမတ္စြာဘုရား อย่างในภาพพุทธประวัติเรื่อง พาหุง ท่านใช้คำว่า ျမတ္စြာဘုရား ဘုရား ยังใช้เรียก เจดีย์ ที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธเจ้า ถ้าบอกแท็กซี่ไป พยา ถึง ชเวดากอง แน่นอน เอาแค่กลั้วคลอก่อนกินข้าวก็พอเนาะ นี่คือ อัตมโน อย่าเอาไปอิงอ้าง ส่งอาจารย์นะจ๊ะ

เรียนพม่าจากเล่ม ตะแหง่ตาน ไม่ง่ายอย่างที่คิด ถ้าไม่มีครูสอน

Image
มิงกะลาบา เพื่อน ๆ ผู้ใฝ่เรียนภาษาพม่าทุกท่าน  ที่เราเรียนภาษาพม่านี่ เพื่อจะได้เปิดโลกกว้างทางภาษา อีกสักภาษา เชื่อเถอะว่า พม่าอยู่ใกล้เพียงชายคาติดกัน ผมไม่เคยเข้าเว็บของพม่าเลยตั้งแต่ใช้คอมพิวเตอร์เป็น แต่เมื่อพอใช้ภาษาพม่าเป็นบ้าง ตอนนี ้แทบจะไม่เข้าเว็บอื่น ๆ เลย ได้ศึกษาพม่า ผ่านเว็บไซต์ของคนพม่าแท้ ๆ มันได้อรรถรส ทั้งภาพและเสียงเลยเชียว ( เด่วจะค่อย ๆ เปิดว่า ในเว็บต่าง ๆ นั้น เคร่งครัดหรือหย่อนยานด้านศีลธรรมอย่างไร) วันนี้ตั้งใจจะพูดหนังสือเล่ม "ตะแหง่าตาน" ให้ท่านผู้สนใจภาษาได้เข้าใจสักหน่อย .. คือเห็นชื่อว่า "ตะแหง่ตาน" หรือเพื่อนพม่า แนะนำว่าให้เอาเล่มนี้มาศึกษาซิ จะได้เข้าใจ สระ และพยัญชนะ .. มันไม่ง่าย อย่างที่คนพม่าบอกนะซิครับ .. เด็กอนุบาลบ้านเขาเรียนได้ ก็จริงซิ มีครูสอนนี่นา .. หนังสือเล่มนี้ "ควรจะมีครูสอน" หรือ "สืออื่น" ประกอบนะครับ เหตุผลที่จะต้องมีคุณครู หรือสื่ออื่น ๆ ก็คือ ติ๊ด (หนึ่ง) ทั้งเล่มไม่มีภาษาไทยเลย หนิ๊ด (สอง) เราจะอ่านอย่างไร ถ้าไม่มีคนนำ ออกเสียงอย่างไร อ่านแล้ว แปลไม่ออก จะทำอย่างไร โต้ง (สาม) ในหนังสือมีบท

ข่าวบันเทิง "อนุปิญญา" ในคำพม่า

Image
ความหมาย "บันเทิง" "ข่าวบันเทิง" ในภาษาพม่า ในแบบฉบับ dummies บันเทิง พม่าใช้คำบาลีทั้งหมดเลยคือ อนุ + ปิญญา ศัพท์นี้แปลอย่างบาลีจะได้ว่า "ตามปัญญา" อนุ = ภายหลัง , ตาม , น้อย (ในภาษาบาลี) ปัญญา ก็คือ ความรู้ อนุปัญญา ก็คือ รู้น้อย (ไม่ค่อ ยแปล) รู้ตาม (ความสามารถของตน) รู้ภายหลัง (ไม่ค่อยแปล) ข่าวบันเทิง "อนุปิญญา ตะดิน" ข่าว ว่าด้วย "เรื่องเป็นไปตามปัญญา (ของคน) အနုပညာ သတင္း ..... คนหาในอินเทอร์เน็ต เจอภาพ (ตามปัญญา) คนดูมากมาย เลือกเอาภาพนี้มาให้ชม .. อนุปิญญา ของท่านเนาะ อิอิ facebook/burmese

คำว่า ေလာင္း สื่อไปในทางดีงาม

Image
ขึ้นคำว่า ลอง ေလာင္း ล ลิง สะกดด้วย สระ ออ เสียง นาสิก แบบครุ ေ-ာင္း คำที่เกี่ยวข้อง ဘုရားေလာင္း ผู้ที่เตรียมพร้อมก่อนจะเป็นพระพุทธเจ้า အေလာင္းဘုရား พระเจ้าอลองพยา (ผู้เป็นโพธิสัตว์) ဆြမ္းမ်ားေလာင္းတယ္ ถวายภัตตาหาร  คำว่า ေလာင္း สื่อไปใ นทางดีงาม และใช้เกี่ยวกับผู้มีบารมีจริงๆ สระ ออ เสียงทีฆะ อีกตัวที่ใช้กับของสูงส่งน่าเคารพคือ ดอ ေတာ္ ในคำ ဆရာေတာ္ เป็นต้น (เด่วแจกแจง) ที่บรรดาพวก "ปากพิเรนท์" เอามาพูดล้อเลียนภาษากันนั่นแหละ รู้ตัวกันหรือยังก็ไม่รู้... ในภาพอ่านว่า "พยาลอง หน๊ะ มโย" โพธิสัตว์ สอง จำพวก คำว่า ลอง ในภาษาไทย คือ ทดสอบ ก่อนทำจริง (อัตตโม แปลเอง) facebook.com/burmese

วิธีการพิมพ์ င္ ให้อยู่บนตัวอักษรด้วย myanmar3

Image
เพื่อแก้ปัญหา การพิมพ์ สัญญลักษณ์ พอเปิดไฟล์ขึ้นมาใหม่ สัญญลักษณ์หาย แสดงให้เห็นในภาพแล้ว จาก http://facebook.com/burmese ของผู้เขียนคนเดียวกัน

แนะนำหนังสือ Colloquial Burmese (2014)

Image
นาน ๆ จะได้มีโอกาสพบหนังสือ "สอนภาษาพม่า" แบบง่าย ๆ ที่มีโครงสร้างประโยคชัดเจน พร้อมทั้งคำ vocab เรียกว่า ได้ทั้งประโยคพูด โครงสร้างไวยากรณ์ภาษา และคำศัพท์กันเลยทีเดียว หนังสือ " Collopuial Burmese" เล่มนี้หากซื้อจาก Amazone ราคาเฉียด สองพันบาท ... โชคดีมี E-Book ขายแล้วที่ Scribe เชิญท่านชม สัมผัส และสั่งซื้อได้เลยครับ Colloquial Burmese provides a step-by-step course in Burmese as it is written and spoken today. Combining a user-friendly approach with a thorough treatment of the language, it equips learners with the essential skills needed to communicate confidently and effectively in Burmese in a broad range of situations. No prior knowledge of the language is required. ลิงค์ scribe https://www.scribd.com/doc/243400574/Colloquial-Burmese-2014 ------------------------- Key features include: progressive coverage of speaking, listening, reading and writing skills structured, jargon-free explanations of grammar an extensive range of focused and stimulating

สระภาษาพม่า พร้อมกระจายรูปแบบ mindmap Lesson2

Image
သင်ခန်းစာ ၂ သရအက္ခရာရေးများ   “ สระ ประกอบกับพยัญชนะ พร้อมวรรณยุกต์ทำให้พยางค์นั้น ๆ มีความหมายเป็น คำ สื่อสารเข้าใจได้”         เมื่อเห็นรูป คำ ของภาษาพม่า สิ่งที่เห็นคือ พยัญชนะ กับ สระ หากตัดเอาตัวพยัญชนะแยกออกมาได้แล้ว สิ่งที่เหลือนั้นก็เป็นสระ และ ส่วนประกอบของสระทั้งนั้น (ตัวกำกับ วรรณยุกต์)           หากจะกล่าวโดยเสียงสระในภาษาพม่าแล้ว เสียงของสระมีอยู่มากมาย ทั้งประกอบกับพยัญชนะ และเกิดขึ้นลอย ๆ  และเสียงพยัญชนะที่ไม่ประสมสระ ส่วนในชั้นนี้เราจะแนะนำให้เห็นรูปสระพื้นฐาน สิบตัว อันเป็นส่วนรากฐานที่แตกกระจายออกไปเป็นรูปอื่น ๆ อีกมาก ... “เมื่อรู้พยัญชน สระ และวรรณยุกต์ ก็สามารถผสมคำ “อ่าน” ได้ เมื่อ “อ่าน” ได้ ก็สามารถหาความหมายต่อไปได้”  หนังสือจำหน่ายเป็น E-Book ในชุด series "เรียนภาษาพม่าพื้นฐานก่อนไปอนุบาล" ดาวน์โหลดได้ที่ http://myanmarsa.ecwid.com Facebook.com/burmese