Posts

Showing posts from July, 2014

อย่าทิ้งขยะลงในโถส้วม แบบพม่า

"อย่าทิ้งขยะลงในโถส้วม" "...เสร็จแล้ว ราดน้ำด้วย" อาโลง มิงกะลาบา สวัสดีศรีมงคล เพื่อนๆๆทุกคน..ขอรับ ดีเน๊ะ แบโลแล เนเก๊าจหล่า ... วันนี้เป็นอย่างไร สบายดีกันหรือ เพื่อจัดสมองให้ว่างพร้อมรับความรู้ใหม่ จะหน่อ ขอถ่ายความรู้ออกบ้าง วันนี้ยังว่าด้วยเรื่องขยะ แต่กระเดียดไปทางห้องน้ำเสียหน่อย อันว่า อย่าทิ้งขยะลงในโถส้วม นั้น เรามาแยกคำเสียก่อนประไร ห้องน้ำ ขอใช้ "เองตา" หล่ะกัน ส่วน โถส้วม นั้นใช้ "แคว๊ะ" ขยะ นั้นใช้ "อะไหม้" คำว่า ใน ขอใช้ "แท" คำเดียว มาเข้าประโยคได้ว่า "เองตา แคว๊ะ แท อะไหม้ มะปี้ด แน๊ะ" แปลอย่างไทยว่า "อย่าทิ้งขยะลงในโถส้วม" มะ....แน๊ะ เป็นคำห้าม เอากิริยาที่จะห้ามมาใส่ ส่วนท่านอยากจะเปลี่ยนจาก ขยะ เป็น ผ้าอนามัย ... ก็เปลี่ยนจาก อะไหม้ เป็น ผ้าอนามัย ซะก็สำเร็จประโยชน์แล้ว ต่อด้วย ขี้เสร็จแล้ว อย่าลืมราดน้ำด้วย ท่านก็ว่าดังนี้ "เองตา แตะ ปยี เหย่ เล๊า บา" แปลอย่างตัวอักษรได้ว่า "ขึ้นห้องน้ำแล้ว ราดน้ำ(ด้วย) จ้า) เองตา ห้องน้ำ เจอบ่อยแล้ว แต๊ะ .. บางรัฐออกเสียง เต็ด.. คำ

ห้องน้ำและมารยาทในภาษาพม่า

Image
การขอตัวเข้าห้องน้ำท่ามกลางเจ้าบ้านกรณีเราผู้เป็นแขก ทีแรกเล่นคำศัพท์ตามไวกรณ์ล้วนว่า "จะหน่อ เอ้งตา ตั้ววินแหม่" ผู้ช่วยด้านภาษามองข้าพเจ้าด้วยอาการคว้อนควับเข้าให้ ถึงกับลากไปติววัฒนธรรมกันใหม่ ดังนี้ 1. อย่าบอกแขกเจ้าบ้านประเจิดประเจ้อขนาดนั้น และคำว่า เข้าห้องน้ำโดยใช้ วิน นี่ ความหมายเหมือนมุดเอาหัวเข้าไปในชักโครกกระนั้นเลย ถ้าจะใช้ศัพท์มันต้อง "เอ้งตาแตะ" .. 2. หากอยู่ในวงเพื่อนคุ้นเคยบอกความชัดเจน ไปอุจจาระหรือปัสสาวะ "อะเล ตั้วแหม่ หรือ จะว่า อเป๊าะ ตั้วแหม่" 3. ในท่ามกลางวงสังคม เพียงแสดงอาการ "เอามือจุ๊ปาก" เป็นสัญญลักษณ์ไปเข้าห้องน้ำก็พอ นี่ยังไม่วายอธิบายความไปถึง กุฏี ที่แปลว่า ห้องน้ำพระ ห้ามเข้าเด็ดขาดอีกด้วย ... ใครว่าชนชาติพม่าสกปรก ลองไปสัมผัสวัฒนธรรมเถอะครับ มารยาทมากกว่าไทยเสียอีก ( ผู้ช่วยของข้าพเจ้า มิได้สอนแต่ปากนะ ยังอุตสาห์เขียนกำกับให้ด้วย คงกลัวว่าข้าพเจ้าจะลืมกระมัง ) สอบถามเรียนภาษาพม่าได้ที่ www.facebook.com/burmese

พื้นฐานตัวเลขของพม่า

Image
พื้นฐานตัวเลขของพม่า 1. ติ๊ด เมื่ออยู่หน้าคำอื่น ให้ออกเสียง ตะ เช่น ตะแซ ไม่อ่าน ติ็ดแซ 2. หน้ีด สอง อยู่หน้าคำอื่นออกเสียง หนะ เช่น หนะแซ  3. คุนิต อยู่หน้าคำอื่นออกเสียง คุนนะ 4. สิบเรียก ตะแซ เม่ื่อเป็น 11,12,13 ออกเสียงว่า แซ่ติ๊ด,แซ่ หนี๊ด ไม่ออกเสียง ต๊ะ 5. หน่วย สิบ ร้อย พัน หมื่น แสน ล้าน , คุ แซะ ยา เท้า เต้า เต้ง ต้าน (นำหน้าด้วย ตะ ตามลำดับ) 6. 11 เท่ากับ หนึ่งของสิบ ฉะนั้น สิบ ต้องออกเสียง แซะ หนักและตัด ဆယ့်တစ် ร้อย พัน หม่ืน ก็เช่นกัน ...สิบของร้อย , ร้อยของพัน เป็นต้น พม่ามีตัวเลขหลักล้าน သန်း และหลัก บิลเลี่ยน ဘီလျံ ให้ใช้ ( ต้าน , บีเลียน ) แต่ในวงการธุรกิจ กลับไม่พูดหลักล้านด้วย ต้าน သန်း แต่ใช้หลัก สิบแสนแทน เมื่อพูดเกี่ยวกับตัวเลขในการค้าขายจึงมีความพิศดาร (พันลึก) เพราะเขียนในบัญชีด้วยหลักไวยากรณ์ แต่พูดด้วยหลักชาวบ้าน และตัวเลขนั้นเป็นหลักล้านเสียด้วย จะนำเสนอให้ทราบในโพสหน้า ตอนนี้ทำความเข้าใจระบบตัวเลขปกติกันก่อนครับ สอบถามการเรียนภาษาพม่าได้ที่้ www.facebook.com/burmese

สระเอ "ตะเวโท" ของภาษาพม่า

Image
สระ เอ ในภาษาพม่า มีรูปเหมือน เอ ภาษาไทย วางหน้าพยัญชนะ มี สามเสียง มีรูปใช้โดด ๆ ได้โดยไม่ต้องผสมพยัญชนะใด ๆ สองรูป ในบรรทัดที่สาม เช่น เอราวดี ( แม่น้ำอิรวดี ) และ ยเว้ ( ไม่สามารถเขียนในรูปอ่านอย่างชัดได้ ) ผสมสระเอ แล้วลองอ่านครับ "ยะ เน่ เนตาอี . เลมะลายเว้ บูตี. คยีร์เวร์ตา ล่ายะตี เยเอ้ร์เอ้ร์ เปร์บ่า." "ในที่นี้เขียน ร์ การันต์ เพื่อสื่อว่าเสียงวรรณยุกต์ยาวกว่า อะ ปกติ" ในบทอ่านนี้มีสี่ประโยค สังเกตุเครื่องหมายปิดท้าย เส้นตรงสองเส้น "วันนี้ พระอาทิตย์สว่างจ้า ร้อนอยู่ เพราะลมไม่มา (คน) ได้มาจากที่ไกล จงให้น้ำเย็นเย็น" ยเว้ ในประโยคนี้เป็นสระ เอ รูปใหญ่ ใช้ออกเสียงได้โดยไม่ต้องประกอบพยัญชนะ มีความหมายว่า "เพราะ" แสดงถึงคุณธรรม การมีน้ำใจเอื้อเฟื้อแก่คนเดินทาง ด้วยการให้น้ำเป็นทาน ในชนบทจะมีตุ่มน้ำวางไว้ใต้ต้นไม้ ให้คนเดินทางไกลได้ดื่ม หากมีโอกาสไปเที่ยวพม่าเห็นตุ่มน้ำแบบนี้อย่า "นำน้ำล้างเท้า" เด็ดขาดนะครับ บาปจะติดตัวท่านไปนานแสนนาน .. อย่างไรจะมาว่าให้ฟังอีกที สอบถามเรียนภาษาพม่า www.facebook.com/burmese

ทักษะนับหลักล้าน ตอน หน่วยนับ ต้องอยู่หน้าหรือลังตัวเลข

Image
ทักษะตัวเลข การนับหลักล้าน พึงทำความเข้าใจหลักการพูด ดังนี้ 1. ตัวเลข มักจะตามด้วย หน่วยนับ เช่น ลู ตะเย่า คนหนึ่งคน ง่าหนะเก้า ปลา 2 ตัว 2. แม้ในประโยคบอกเล่าก็จะเห็นการระบุหน่วยนับ แม้จะไม่มีคำแปลที่บ่ง เช่น "ผมเป็นมนุษย์ / จะหน่อ ลู ตะเ ย่า พยิดบ่าแด่ 3. 1 กับ 2 จะเห็นว่า หน่วยนับ นั้นอยู่หลังตัวเลขเสมอ และจะเ้ป็นเช่นนี ในการเขียน 4. การพูดตัวเลขจำนวนเต็ม ตั้งแต่ 20 ขึ้นไป หน่วยนับนามจะมาอยู่หน้าต้วเลข และเติม "อ" เช่น ลูอะเย่าโต้งแซะ (คนสามสิบคน) ง่า อะเก้า เล้แซะ (ปลา สี่สิบตัว) 5. การเติม "อ" หน้าคำหน่วยนับนั้น ยกเว้น ไม่ต้องเติม "อ" มี จำนวนเงิน , มาตราชั่ง, เวลา เป็นต้น "ถ้ามีเงิน สามล้านบาท จะทำอะไร / ไปซัน บาทเต้งโต้งแซะชิยิน บาโล้กมะแล่" สอบถามเรียนภาษาพม่าได้ที่ www.facebook.com/burmese

ทักษะนับเลขหลักล้าน ตอนสำคัญ ภาษาพม่า

Image
ทักษะการพูดเลขหลักล้านตอนสำคัญ และเทคนิคของข้าพเจ้า หนึ่งแสน = ตะเต้ง หนึ่งล้าน = แซะเต้ง ( สิบ แสน ) หนึ่งล้านห้าแสน = แซะงาเต้ง หนึ่งล้านเก้าแสน = แซะโกเต้ง เทคนิคของข้าพเจ้าคือ ... ใช้ตัวเลขศูนย์ ห้าตัว คั่นด้วยจุลภาค แล้วนำหน้าด้วยเลขปกติ ในที่นี้คือ สิบ , สิบห้า , สิบเก้า สองล้าน = เต้งนะแซ ( แสน ยี่สิบ ) สี่ล้าน = เต้งเล้แซ ( แสน สี่สิบ ) สิบล้าน = เต้ง ตะยา ( แสน หนึ่งร้อย ) หนึ่งร้อยล้าน = เต้ง ตะเทา ( แสน หนึ่งพัน ) " ทำไมแสนมาอยู่หน้า จากกติกาว่า "" หน่วยนับของตัวเลขจำนวนเต็ม ตั้งแต่ ยี่สิบ ขึ้นไป ให้อยู่ด้านหน้าตัวเลข "" ในที่นี้ เต้ง เป็นหน่วยนับ เลขคือ ยี่สิบ เต้ง จึงมาอยู่หน้า ยี่สิบ ด้วยประการ ฉะ นี้ " หากถามว่า ทำไม """" เมื่อเป็นหลักสืบต่อมา ข้าพเจ้าก็ต้องตอบว่า "มะติบู้ อิอิ.." ถ้า สองล้านสองแสนเก้าพันเก้าร้อยสี่สิบห้า บาท " บาท หน๊ะแซเต้ง โกเท่า โกยา เล้แซะงา " "หนะแซเต้ง" ตอนนี้เอาแสนมาอยู่หลังยี่สิบ เพราะ " ....สี่สิบห้า ไม่ใช่เลขจำนวนเต็มที่ลงท้ายด้วยศูนย์" ถ้ามีเงิน สามล้านห

เรียนเขียนโดยความเคารพ อาร์เบร์ ภาษาพ่า

Image
สวัสดีในวันที่เข้าพรรษาล่วงแล้วหนึ่งวัน หวังว่า จะหน่อแย้ มิตซเว้ จะได้ดาวน์โหลดสมุดฝึกเขียนตัวเขียนพม่าไปเรียบร้อยแล้วนะครับ .. มีเบ็ดและเครื่องมือพร้อมแล้ว จะได้ปลาสักกี่ตัว เป็น หน้าที่ของท่านต่อไปแล้ว และโปรดระลึก ( ตะติยะทา ) "ซาอะเย ร์อะตาร์ อะเลร์ทาร์บ่า . เหง่ร์มะเนยะ อาร์เบร์ กูหยี่บ่า" "ให้ใส่ใจ (หรือเคารพ) การเขียน. อย่าเหม่อลอย. ( ตั้งใจเขียน ) ผม(ขอ)ให้กำลังใจ ทุกท่าน(หากจะ) ให้ช่วยเหลือ (บอกมาครับ) หมายเหตุ ตัวอาร์ มุ่งให้เป็นสัญญลักษณ์ออกเสียงลากยาว จะหน่อแย้ / ของผม มิตซเว้ / สหาย

อักขระพม่าพิเศษ อาขยาน อิ ยเว้ เอ เป็นต้น

Image
การอ่านภาษาพม่าชั้นตำราก็ดี เอกสารราชการก็ดี หรือแม้ในแบบเรียนระดับต่าง ๆ ตั้งแต่ชั้นอนุบาล จะเริ่มเห็นตัวอักษรพม่าที่เป็นรูปพิเศษ และทำหน้าที่สำคัญในประโยคเสียด้วย (( อันต่างจากภาษาพูด ที่นำไปเขียน เช่น หนังสือพิมพ์ ทีวี ข่าว เป็นต้น)) ศั พท์เหล่านี้เห็นควรต้องรู้ไว้บ้างครับ ขอคัดลอกคำอธิบายมาจากต้นตำรับ " ABREVIATED SYLLABLES (LITERARY BURMESE) 1. ၏ This is the abreviated form of the syllable [ í ], which was commonly written as ဧအ် in Bagan period (1000- 1300 A.D). ၏ functions as the sentence ending when it follows a verb: သူ လာ၏။ "He comes." It also marks the possesion of the preceeding noun: မမ၏ စာအုပ် "Ma Ma's book" 2. ၍ This is the abreviated form of the syllable [jwé ], which was commonly written as ရုယ် in Bagan period (1000- 1300 A.D). ၍ functions as a connecting element betwen the sentences, sometimes meaning"because", sometimes meaning "and." သူ မော၍ နားသည်။ He took a break because he was tired. သူ စာကြည့်တိုက်သွား၍ စာဖတ်မည်။

เริ่มฝึกอ่านและเขียนภาษาพม่าอย่างไร

Image
ธรรมชาติของมนุษย์จะพูดได้ก่อน แล้วจึงขยับมาเขียนพร้อม ๆ กับอ่านตัวหนังสือกันภายหลัง เพื่อสื่อสารเหตุผล อารมณ์ กับสังคม เบื้องต้นก็เรียนภาษาของตนเอง ต่อเนื่องไปถึงภาษาของสังคมอื่น ๆ เมื่อเราพูดพม่าได้แบบ " ทะมินซา เยเต้าเล่าปยอ - พอซื้อข้าว กินและน้ำดื่ม" ได้แล้ว " ก็ควรจะเริ่มฝึกอ่าน และเขียนตัวอักษรพม่ากันครับ เพื่อยกระดับการสื่อสาร ขึ้นมาตามธรรมชาติ เช่นเดียวกับโตพอเข้าโรงเรียน พ่อแม่ ก็ส่งเราเข้าโรงเรียน เขียนอ่าน ทั้ง ๆ ที่เราก็พูดได้อยู่แล้ว (เข้าโรงเรียนทำไมอ่ะ)  ซึ่งหนังสือที่แนะนำก็คือ เล่ม ตะแหง่ตัน์ ซึ่งจะสอนตัวหนังสือ สระ การผสมคำ และรูปประโยคพื้นฐาน โดยสถาบันฝึกอบรมต่าง ๆ หรือกระทั้งในระดับมหาวิทยาลัยก็นำเนื้อหาในเล่มนี้ ไปสอนเพื่อ เป็นพื้นฐานการเขียนอ่าน หลักเบื้องต้นอยู่หน้านี้ครับ ว่าด้วยรูปตัวอักษร และ เสียง โดยรูปตัวอักษรของพม่ามี สามสิบสามตัว และเสียงมีสิบสองเสียง ( ในพื้นฐานก่อน ) เสียงก็มาจากการพูดตั้งแต่แบเบาะนั่นแหละ จัดสรุปได้สิบสองเสียง คือ อะ อา อิ อิ อุ อู เอ แอ ออ เอ้า อัน อาน ( ในบทต่อ ๆ ไปจะเห็นรูปของสระที่ออกเสียงตามเสียงทั้งสิบสองนี้ ) ตั

การขอตัวเข้าห้องน้ำท่ามกลางเจ้าบ้านกรณีเราผู้เป็นแขก

Image
การขอตัวเข้าห้องน้ำท่ามกลางเจ้าบ้านกรณีเราผู้เป็นแขก ทีแรกเล่นคำศัพท์ตามไวกรณ์ล้วนว่า "จะหน่อ เอ้งตา ตั้ววินแหม่" ผู้ช่วยด้านภาษามองข้าพเจ้าด้วยอาการคว้อนควับเข้าให้ ถึงกับลากไปติววัฒนธรรมกันใหม่ ดังนี้ 1. อย่าบอกแขกเจ้าบ้านประเจิดประเจ้อขนาดนั้น และคำว่า เข้าห้องน้ำโดยใช้ วิน นี่ ความหมายเหมือนมุดเอาหัวเข้าไปในชักโครกกระนั้นเลย ถ้าจะใช้ศัพท์มันต้อง "เอ้งตาแตะ" .. 2. หากอยู่ในวงเพื่อนคุ้นเคยบอกความชัดเจน ไปอุจจาระหรือปัสสาวะ "อะเล ตั้วแหม่ หรือ จะว่า อเป๊าะ ตั้วแหม่" 3. ในท่ามกลางวงสังคม เพียงแสดงอาการ "เอามือจุ๊ปาก" เป็นสัญญลักษณ์ไปเข้าห้องน้ำก็พอ นี่ยังไม่วายอธิบายความไปถึง กุฏี ที่แปลว่า ห้องน้ำพระ ห้ามเข้าเด็ดขาดอีกด้วย ... ใครว่าชนชาติพม่าสกปรก ลองไปสัมผัสวัฒนธรรมเถอะครับ มารยาทมากกว่าไทยเสียอีก ( ผู้ช่วยของข้าพเจ้า มิได้สอนแต่ปากนะ ยังอุตสาห์เขียนกำกับให้ด้วย คงกลัวว่าข้าพเจ้าจะลืมกระมัง )

คนล้มอย่าข้าม คุณธรรมข้อสำคัญของพม่า

Image
ช่วยเหลือผู้อ่อนแอ คนล้มอย่าข้าม  เห็นใจผู้ทุกข์โศก และ ช่วยเหลือพยุงกันแลกัน ซาบซึ้ง กับบทสอนระดับชั้นอนุบาลของพม่ามากครับ ปลูกฝังคุณธรรมแต่เด็ก เช่นนี้เลย "ตูตี นุแนอิ แลเนตู ทูเป้บ่า อาแหง่ตู อาเป้บ่า อะตูตู แตยูบ่า" (จากบทอ่าน การผสมสระ แอ)

คำถาม ลา ตะล่า กับหลักไวยากรณ์

Image
คิดเสียว่า ไวยากรณ์ มันคือ สิ่งที่เกิดทีหลังคำพูด เมื่อคนพูดแบบนี้มาก ๆเข้า ก็คาดการณ์ได้ว่า คนรุ่นต่อไปเมื่อพูดเหตุการณ์นี้ ก็ต้องพูดแบบนี้ แบบนี้แหละ ไวยากรณ์ ... เผื่อท่านจะต้องพูดแบบนี้ ก็ต้องใช้ไวยากรณ์นี้ .. ( หุหุ งงดีไหม ) မသီတာ လာ သလား။ มะติดา มาหรือเปล่า? ဟုတ်ကဲ့။ မသီတာ လာပါတယ်။ ใช่ มติดา มาจ๊ะ ကိုသော်တာ လာသလား။ โกตอดา มาหรือเปล่า? ကိုသော်တာ မလာပါဘူး။ โกตอดา ไม่มาจ๊ะ ကိုသော်တာ မလာဘူးလား။ โกตอดา ไม่มาหรือ? ဟုတ်ကဲ့။ ကိုသော်တာ မလာပါဘူး။ ใช่ โกตอดา ไม่มาจ๊ะ อันไหนเรียกว่าไวยากรณ์ 1. ถามเพื่อจำกัดคำตอบว่า Yes/No เท่านั้น ใช้ ลา/ตะลา 2. บางทีก็ ลา คำเดียว บางทีก็ ตะลา ( ท่านว่า ตะลา ใช้อย่างสุภาพ แต่ข้าพเจ้าชอบใจคำอธิบายของพวกฝรั่งที่ว่า ต ในคำว่า ลา นั้น บ่งถึงคำถามที่เป็นอดีตและปัจจุบัน - อันนี้เห็นที่ท่านจะเทียบกับ ม ในคำว่า ม ลา กับอีกความเห็นหนึ่งว่า ตะ ในคำว่า ลา นั้น "คาดคั้น หรือมุ่งหวังคำตอบ" มากกว่า ลา คำเดียว ) ท่านชอบแบบไหน ก็เลือกเอา - หากตอบเอาคะแนน ต้องดูจริตของสยาของท่านด้วย ... อิอิ 3. จ๊ะ หรือ บ่า ใช้เป็นคำถาม คำตอบ คำบอกเล่า อย่างสุภาพ ( เราไม่ใช่

คุณธรรมพม่า ในแบบฝึกอ่านเขียน1

Image
พม่าเขาสอน คุณธรรม เด็กอย่างไร สะท้อนออกมาในรูปการสอนคำอ่านพม่า .. ลองดูคุณธรรมในข้อนี้ครับ  "เพเพ เมเม มาบ่าเซ . เมเม๊ะ สกา อะเยทา . เพเพ๊ะ สกา ตา เลซา" แปลโดยอรรถ " ขอให้พ่อแม่ แข็งแรง , ลูกชาย เชื่อฟังคำพูดของแม่ , ลูกชายเคารพคำของพ่อ " บ่าเซ ... เป็นคำอวยพรให้คนอื่น โครงสร้าง " N + คำอวยพร + บ่าเซ " กำหนดให้ N แทนผู้มุ่งหวัง เช่น ตะแหง่ฉิน มาบ่าเซ "ขอให้เพื่อนแข็งแรง" ถ้าอวยพรให้ตนเอง .. จะว่าอย่างไรครับ ( เด่วเฉลยในคอมเมนต์ ) คำว่า มา ในประโยคนี้ ตัดมาจากคำว่า จันมา บ่าเซ เนื่องจากเป็นหนังสือสอนอนุบาล ยังไม่ถึงคำว่า จัน ซึ่งเป็นพยัญชนะผสม จึงตัดเหลือเพียง มา ( อีกประการหนึ่ง ครูบา ท่านบอกว่าเป็นกลอน เพื่ีอให้ลงวรรคตอนได้ : ข้อน้อยด้อยการศึกษา ) อะเยทา / เชื่อฟัง เลซา / เคารพ ถ้าเป็นวัยรุ่นไทยสมัยนี้ต้อง " ตะแหง่ฉิน ไลน์ แนะ เฟจบุ๊ค อะเยทาบีเลซา" เชื่อฟัง และเคารพ เพื่อน ไลน์ กับเฟจบุ๊ค จริงหรือเปล่าไม่ทราบนะ ( ดา ตะแกล่าดา มะติบู้ )