เริ่มฝึกอ่านและเขียนภาษาพม่าอย่างไร

ธรรมชาติของมนุษย์จะพูดได้ก่อน แล้วจึงขยับมาเขียนพร้อม ๆ กับอ่านตัวหนังสือกันภายหลัง เพื่อสื่อสารเหตุผล อารมณ์ กับสังคม เบื้องต้นก็เรียนภาษาของตนเอง ต่อเนื่องไปถึงภาษาของสังคมอื่น ๆ

เมื่อเราพูดพม่าได้แบบ " ทะมินซา เยเต้าเล่าปยอ - พอซื้อข้าวกินและน้ำดื่ม" ได้แล้ว " ก็ควรจะเริ่มฝึกอ่าน และเขียนตัวอักษรพม่ากันครับ เพื่อยกระดับการสื่อสาร ขึ้นมาตามธรรมชาติ เช่นเดียวกับโตพอเข้าโรงเรียน พ่อแม่ ก็ส่งเราเข้าโรงเรียน เขียนอ่าน ทั้ง ๆ ที่เราก็พูดได้อยู่แล้ว (เข้าโรงเรียนทำไมอ่ะ)  ซึ่งหนังสือที่แนะนำก็คือ เล่ม ตะแหง่ตัน์ ซึ่งจะสอนตัวหนังสือ สระ การผสมคำ และรูปประโยคพื้นฐาน โดยสถาบันฝึกอบรมต่าง ๆ หรือกระทั้งในระดับมหาวิทยาลัยก็นำเนื้อหาในเล่มนี้ ไปสอนเพื่อ เป็นพื้นฐานการเขียนอ่าน

หลักเบื้องต้นอยู่หน้านี้ครับ

ว่าด้วยรูปตัวอักษร และ เสียง โดยรูปตัวอักษรของพม่ามี สามสิบสามตัว และเสียงมีสิบสองเสียง ( ในพื้นฐานก่อน )

เสียงก็มาจากการพูดตั้งแต่แบเบาะนั่นแหละ จัดสรุปได้สิบสองเสียง คือ อะ อา อิ อิ อุ อู เอ แอ ออ เอ้า อัน อาน ( ในบทต่อ ๆ ไปจะเห็นรูปของสระที่ออกเสียงตามเสียงทั้งสิบสองนี้ )

ตัวพยัญชนะยังแตกแขนงออกไปโดยเอาพยัญชนะเหล่านี้มาผสมกัน กลายเป็นการควบพยัญชนะ ที่มีเสียงพิเศษ และเสียงสระที่แตกออกไปกลายเป็นเสียงพิเศษ ( เสียงกัก เสียงนาสิก ) แต่ไม่ต้องกังวลไปครับ ฝึก มอง และออกเสียง หน้านี้ให้ถนัดชัดแจ้งเสียก่อน .. ถือว่าเป็นลำต้น พยัญชนะผสมก็ดี เสียงกัก เสียงนาสิกก็ดี ถือว่าเป็นใบ มันแตกออกจากต้นนี้ ทั้งนั้น

สำคัญที่สุด พยายามเกาะต้นไว้ และปีนขึ้นไปเรื่อย ๆ ครับ
พยุงตัวไว้อย่าให้ตก


ต่อ ๆ ไปจะแสดงวิธีการอ่าน เขียน ประโยค และการผสมคำ โดยยึดเล่มตะแหง่ตัน์นี้เป็นหลัก

แล้วพบกันครับ ....




Comments

Popular posts from this blog

ชมคนสวย คนหล่อ คนสมาร์ท อย่างพม่า

အိမ်ခန်းငှါးမယ်။ ห้องนี้ให้เช่า

สระเอ အေ พร้อมกับคำเขียนต่างจากคำพูด