คำถาม ลา ตะล่า กับหลักไวยากรณ์

คิดเสียว่า ไวยากรณ์ มันคือ สิ่งที่เกิดทีหลังคำพูด เมื่อคนพูดแบบนี้มาก ๆเข้า ก็คาดการณ์ได้ว่า คนรุ่นต่อไปเมื่อพูดเหตุการณ์นี้ ก็ต้องพูดแบบนี้ แบบนี้แหละ ไวยากรณ์ ... เผื่อท่านจะต้องพูดแบบนี้ ก็ต้องใช้ไวยากรณ์นี้ .. ( หุหุ งงดีไหม )



မသီတာ လာသလား။ มะติดา มาหรือเปล่า?
ဟုတ်ကဲ့။ မသီတာ လာပါတယ်။ ใช่ มติดา มาจ๊ะ
ကိုသော်တာ လာသလား။ โกตอดา มาหรือเปล่า?
ကိုသော်တာ မလာပါဘူး။ โกตอดา ไม่มาจ๊ะ
ကိုသော်တာ မလာဘူးလား။ โกตอดา ไม่มาหรือ?
ဟုတ်ကဲ့။ ကိုသော်တာ မလာပါဘူး။ ใช่ โกตอดา ไม่มาจ๊ะ

อันไหนเรียกว่าไวยากรณ์

1. ถามเพื่อจำกัดคำตอบว่า Yes/No เท่านั้น ใช้ ลา/ตะลา
2. บางทีก็ ลา คำเดียว บางทีก็ ตะลา ( ท่านว่า ตะลา ใช้อย่างสุภาพ แต่ข้าพเจ้าชอบใจคำอธิบายของพวกฝรั่งที่ว่า ต ในคำว่า ลา นั้น บ่งถึงคำถามที่เป็นอดีตและปัจจุบัน - อันนี้เห็นที่ท่านจะเทียบกับ ม ในคำว่า ม ลา กับอีกความเห็นหนึ่งว่า ตะ ในคำว่า ลา นั้น "คาดคั้น หรือมุ่งหวังคำตอบ" มากกว่า ลา คำเดียว ) ท่านชอบแบบไหน ก็เลือกเอา - หากตอบเอาคะแนน ต้องดูจริตของสยาของท่านด้วย ... อิอิ
3. จ๊ะ หรือ บ่า ใช้เป็นคำถาม คำตอบ คำบอกเล่า อย่างสุภาพ ( เราไม่ใช่คนพม่าแท้ ควรใช้ บ่า ให้เป็นนิสัย แต่ใช้บ่อยไป จะกลายเป็น ลิเก ต้องดูความเหมาะสม )
4. พม่า เวลาพูดประโยค เนกะทีพ ( ก็ปฏิเสธนั่นแหละ พูดให้เท่ห์ ) จะใช้ ม ... แล้วตามด้วย บู ไอ้ที่ จุดๆๆไว้นั้นใช้เติมกิิริยา ในไวยากรณ์ขั้นสูงท่านว่า ปฏิเสธนาม มี มะ นำหน้า หามี บู ไม่ ( ตอนนี้อย่าพึ่งคิดมาก )
5. ในเนกะทีพที่ว่า มะ.... บู นั้น ใส่คำถามได้ตามปกติ เหมือนที่ถามกันว่า มะลาบูล่า " ถามว่า ... ไม่มาหรือ "
6. มะ กับ โก เป็นคำใช้นำหน้า มะ ผู้หญิง โก ผู้ชาย ( ส่วนสัตว์ตัวผู้ ตัวเมีย อย่าไปนำหน้าด้วย มะ กับ โก นะ ส่วนจะใช้ตัวไหน ..... ขออุบไว้ก่อน )

คนโบราณเขาจะถามแบบจำกัดคำตอบ ก็ว่าอย่างนี้
คนรุ่นต่อมา ก็เอามาเป็นหลัก (ไวยากรณ์ )

อย่าคิดมากครับ
( คราวหน้า มาว่าด้วย แล ตะแล เนาะ )


สอบถามเรียนภาษาพม่าได้ที่
www.facebook.com/burmese

Comments

Popular posts from this blog

ชมคนสวย คนหล่อ คนสมาร์ท อย่างพม่า

အိမ်ခန်းငှါးမယ်။ ห้องนี้ให้เช่า

สระเอ အေ พร้อมกับคำเขียนต่างจากคำพูด